วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พริกขี้หนู-พริกไทยขาว แก้โรคชักโรคป่วง

ในยุคสมัยก่อน คนเป็นโรคชักหรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่าโรคป่วงกันเยอะ อยู่ ๆ ก็เป็นขึ้นมาเฉย ๆ ไม่รู้ตัว ซึ่งหมอยาพื้นบ้านในยุคนั้นระบุว่า สาเหตุเนื่องจากเลือดลมไม่ปกติ มีวิธีแก้ตามแนวทางแพทย์แผนไทยโบราณคือ “พริกขี้หนู-พริกไทยขาว” แบบแห้ง แยกบดจนละเอียดและแยกบรรจุใส่แคปซูล สมัยก่อนไม่มีแคปซูล เขาบดใส่โหลไว้ เมื่อมีคนเกิดอาการตามที่กล่าวข้างต้นจะตักผงชงกับน้ำอุ่นอย่างละ 1 ช้อน หรืออย่างละ 1 แคปซูล ก่อนอาหารเช้า-เย็น และให้กินติดต่อกันไป 1-2 อาทิตย์ จากนั้นก็หยุดบ้างกินบ้าง 2-3 อาทิตย์/ครั้ง จะช่วยให้อาการที่เป็นทิ้งระยะห่างขึ้น



พริกขี้หนู หรือ CAPSICUM MINIMUM BOXB อยู่ในวงศ์ SOLANACEAE มีผลสดและผลแห้งวางขายทั่วไป สรรพคุณทางยา ผลช่วยเจริญอาหาร ลดอาการปวดบวม ไขข้ออักเสบ



พริกไทยขาว หรือ PEPER NIGRUM LINN. อยู่ในวงศ์ PIPERACEAE มีผลแห้งขายแหล่งใหญ่ที่ตลาด อ.ต.ก. มีสรรพคุณทางยา ใบ แก้ลม จุกเสียด แน่น แก้ปวดมานในท้อง เมล็ด รสเผ็ดร้อน แก้ลมอัมพฤกษ์ แก้ลมลั่นในท้อง บำรุงธาตุ แก้ท้องอืดเฟ้อ ต้นหรือเถา รสร้อน แก้อุระ เสมหะ ราก รสร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แก้ลมวิงเวียน และช่วยย่อยอาหาร




โรคชัก
อาการชัก เป็นอาการที่แสดงออกถึงความผิดปกติของการทำงานของสมอง ซึ่งอาจจะเกิดได้หลายสาเหตุ อาการชักที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เรียกว่า โรคลมชักหรือลมบ้าหมู อาการชักที่เกิดเพียงครั้งเดียว ยังไม่แสดงว่าผู้ป่วยเป็นโรคลมชัก



สาเหตุของการชัก


1. ไข้ ในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 6 ปี เมื่อมีไข้อาจทำให้เกิดอาการชักได้ พบได้ประมาณ 3% ของเด็กใน
ช่วงอายุนี้โดยลักษณะอาการชัก มักจะเป็นทั้งตัวคือ จะมีอาการกระตุกเกร็ง หรือเกร็งกระตุกเป็นจังหวะๆ ซึ่งจะเกิดในระยะแรกของการมีไข้และอาการชักจะหยุดเอง ในระยะเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 5 นาที ส่วนใหญ่จะมีประวัติชักจากไข้ในครอบครัว


2. ความผิดปกติของสมดุลเกลือแร่ ซึ่งอาจจะพบได้ในเด็กเล็กที่มีอาการท้องเสีย และมีการสูญเสียเกลือแร่
หรือได้รับสารเกลือแร่ขนาดที่ไม่เหมาะสม หรือมากกว่าที่ต้องการ


3. การกระทบกระเทือนที่ศีรษะ


4. การติดเชื้อของระบบประสาท เช่น ภาวะสมองอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ


5. ยาหรือสารกระตุ้นสมอง


6. เป็นอาการแสดงของโรคลมชัก



ลักษณะของการชัก


การชักจะเกิดได้หลายรูปแบบ โดยทั่วๆ ไปมักจะเข้าใจว่าการชักจะต้องเป็นแบบเกร็งกระตุกเป็นจังหวะทั้งตัว



ในความเป็นจริงแล้ว อาการชักอาจจะมีหลายลักษณะ เช่น


1. เหม่อลอยชั่วขณะ


2. หมดสติทันทีร่วมกับอาการตัวอ่อน


3. กระตุกเป็นครั้ง ๆ


4. เกร็งผวา


5. มีพฤติกรรมผิดปกติชั่วขณะ โดยที่ไม่มีการรับรู้ต่อสภาพแวดล้อม


6. อาการเฉพาะที่ เช่น อาการชา อาการผิดปกติของการรับความรู้สึก หรืออาการกระตุกซ้ำๆ ของกล้ามเนื้อเฉพาะที่ ที่เป็นทันทีและเกิดในช่วงสั้นๆ



อันตรายจากการชัก


1. ในระหว่างที่เกิดอาการชัก ที่เป็นแบบทั้งตัวและเด็กมีอาการหมดสติ อาจจะก่อให้เกิดอันตรายโดยตรงกับร่างกายส่วนต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะศีรษะ


2. เกิดการสำลัก ซึ่งอาจจะอุดกั้นหลอดลม อันจะทำให้เกิดภาวะสมองขาดออกซิเจนได้


3. การชักที่นาน มักจะควบคุมยาก และอาจจะก่อให้เกิดความผิดปกติของสมองส่วนอื่น ๆ ได้


4. ขณะเกิดอาการชักชนิดที่เป็นทั้งตัว โอกาสที่เด็กจะกัดลิ้นตัวเองนั้นน้อยมาก



การรักษา


การรักษาอาการชัก จะรักษาตามสาเหตุ สำหรับการชักที่เกิดจากไข้ ไม่จำเป็นต้องกินยากันชัก ยกเว้นในกรณีที่มีอาการชักนั้นเกิดซ้ำ ๆ แพทย์อาจแนะนำให้กินยาในช่วงที่มีไข้สูงเป็นระยะสั้นๆ เช่น 24-48 ชั่วโมง สิ่งสำคัญคือ ในระหว่างที่มีไข้ จะต้องให้ยาลดไข้ในขนาดที่เหมาะสมร่วมกับการเช็คตัวลดไข้ที่ถูกวิธี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันการเกิดอาการชักจากไข้ได้






การปฏิบัติตัวเมื่อเด็กเกิดอาการชัก


1. ผู้ปกครองหรือผู้อยู่ในเหตุการณ์ต้องตั้งสติให้มั่น


2. จัดท่าเด็กให้อยู่ในลักษณะที่ปลอดภัยจากการชัก คือ ท่านอนราบ ตะแคงศีรษะไปด้านข้างและพยายามกำจัดน้ำลาย หรือศีระษะ อาหารที่เด็กจะ อาเจียนออกมาบริเวณภายนอกปาก


3. ห้ามสอดใส่วัตถุใดๆ เข้าไปในปากหรือพยายามงัดปาก


4. ในกรณีที่มีอาการไข้สูงร่วมด้วย ต้องรีบเอาผ้าที่ห่อหุ้มตัวออกบ้าง และรีบเช็ดตัวด้วยน้ำเย็นธรรมดา
(น้ำประปา)เช็ดตามผิวหนัง ถูพอแรงเพื่อให้เส้นเลือดใต้ผิวหนังขยายตัว อุณหภูมิในร่างกายจะได้ระบายออกโดยเร็ว และเอาผ้าขนหนูผืนเล็กชุบน้ำเช็ดบริเวณซอกคอ ซอกรักแร้ ซอกขาหนีบ หลัง และหน้าอกบ่อย ๆ เมื่อไข้ลด จึงนำผ้าเช็ดตัวหรือผ้าบางๆ คลุมตัวให้เด็ก


5. โดยทั่วไป อาการชักจากไข้ มักจะนานไม่เกิน 5 นาที เมื่อเด็กหยุดชัก ควรพาไปพบ
แพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยและรักษาต่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น